ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ได้ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2440 เป็นบุตรีของพระยาสัตยานุกูล อดีตเจ้าเมืองกาญจนบุรี และคุณหญิงแปลก นางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5
เมื่ออายุประมาณ 34 ได้เกิดมีความรู้สึกจากผลการปฏิบัติของตนว่า วิธีที่จะละกิเลสให้ลดน้อยถอยลงไปสู่ทางพระนิพพานได้นั้น น่าจะต้องรู้อยู่ที่ อารมณ์ปัจจุบัน เท่านั้น แต่การทดลองปฏิบัติขณะนั้นได้แต่ทางตาอย่างเดียว จึงเที่ยวแสวงหาพระอาจารย์ต่างๆ ที่จะบอกทางที่เป็นปัจจุบันให้เข้าใจได้ เที่ยวแสวงหาอยู่เป็นเวลานาน ก็ยังไม่พบเหตุผลตรงกับที่เกิดความรู้สึกกับตนเอง ดังกล่าวแล้วได้
พุทธศักราช 2475 ได้พบกับพระอาจารย์วิลาสะ อดีต พระอธิการวัดปรก ตรอกจันทร์ ยานานาวา ได้แนะนำว่า การเจริญธรรม ต้องเจริญโดยกำหนดปัจจุบันอารมณ์ได้ตลอดทั้งหมดทุกทวาร ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จึงได้เหตุผลตรงกัน และได้มอบตัวเป็นศิษย์ท่านทันที
ขั้นแรก พระอาจารย์สอนให้ทำความเข้าใจใน รูปนาม อันเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ตลอดทั่วทั้ง 6 ทวารดังกล่าวแล้ว เรียนอารมณ์รูปนามอยู่ 7 วัน จึงได้เริ่มเข้าปฏิบัติโดยพระอาจารย์วิลาสะ เป็นผู้กำกับตรวจสอบ ประมาณปีเศษ ประสบผลสำเร็จ ดีกว่าบรรดาศิษย์ทั้งปวง
จึงได้เรียนพระอภิธรรมจากพระอาจารย์ ฯ ต่อไปอีกหลายปี โดยมีล่ามภาษาพม่าคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดมา นับว่าได้รับคำสอนจากพระอาจารย์รูปนี้อย่างดีเลิศทั้งหมด จนพระอาจารย์ขอร้องให้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์วิปัสสนา และสอนพระอภิธรรมแทนท่าน
พุทธศักราช 2487 ได้จัดตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนา ที่วัดระฆังโฆสิตาราม . วันสามพระยา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สำนักนาฬิกาวัน อยุธยา , วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี ได้เดินทางไปอบรมสอนวิปัสสนา และสนับสนุนการตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนาในจังหวัดต่างๆ รวมถึง 41 จังหวัด และยังเดินทางไปสอนวิปัสสนา ที่เวียงจันทร์ ประเทศลาว
พุทธศักราช 2496 เปิดการศึกษาพระอภิธรรม และเป็นอาจารย์สอนประจำ ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเวลา 10 ปี ได้บันทึกหัวข้อพระอภิธรรมขึ้นประกอบการสอน ที่พุทธสมาคม ไว้ตั้งแต่ปริจเฉทที่ 1 – 9 รวม 14 เล่ม และพิมพ์หนังสือ เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจากคำสอน และการแสดงปาฐกถาธรรมอีกมากมายหลายเล่ม นับเป็นหนังสือคำสอนพระอภิธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐานเล่มแรกของประเทศไทย ที่ยังไม่เคยมีใครจัดทำมาก่อน
พุทธศักราช 2506 ได้จัดตั้งสมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา และสมาคมสังคมสงเคราะห์ทางจิต ที่วัดสระเกศราชวรวิหาร และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมทั้งสองแห่ง จนถึงมรณะ
ระหว่างนั้นท่านยังคงเดินทางไปอบรมสั่งสอนที่สำนักวัดระฆัง วัดสระเกศ วัดพระเชตุพน สำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย, สำนักปฏิบัติธรรมบุณยกัญจนาราม พัทยา ชลบุรี, สำนักนาฬิกาวัน, สำนักวิวัฏฏะ , สำนักวัดสบสวรรค์ ที่จังหวัดอยุธยา, วัดไทรยืด, วัดโพธิ์เอน อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง , สำนักที่นครสวรรค์, วัดแจ้งนอก โคราช, วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี, วัดปราสาททอง สุพรรณบุรี, และยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะผู้แปลคำบาลี ที่จารึกในใบลานด้วยอักษรขอมได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ถึงแม้ว่าขณะนั้นสุขภาพจะทรุดโทรมลงมากแล้วก็ตาม
๒๔๔๐ และละกายสังขารเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ อายุ ๘๖ราม จนมีคณะศิษย์นำโดยท่านอาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี และคณะได้มาซื้อที่ดินจำนวน ๒๘ ไร่ เริ่มก่อตั้งมูลนิธิ และใช้นามของท่านเป็นชื่อมูลนิธิมาจนปัจจุบัน นัยว่าท่านสำเร็จอริยบุคคลระดับใดระดับหนึ่งด้วย และท่านครองเพศฆราวาสตลอดชีวิตไม่เคยบวชดังที่เข้าใจกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น