.แบ่งเป็น 2 ภาค คือ
ภาค 1 เป็นภาคทฤษฎีี (ปริยัติ) เรียน ๕ วันๆ ละ ๕ คาบวิชา คือ
06.00-07.00 น. ทำวัตรสวดมนต์แล้วอบรมวิปัสสนา
08.45-10.30 น. 13.00-14.00 น.
15.00-16.30 น. และ 18.00-20.00 น.
กล่าวถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาพื้นฐาน
จิต เจตสิก รูป นิพพาน สังสารวัฏฏ์ อริยสัจ 4
ศีลสมาธิ ปัญญา สมถและวิปัสสนากรรมฐาน และสติปัฏฐาน
โดยเน้นอบรมให้ปฏิบัติโดยใช้วิธีกำหนด รูป-นาม เป็นอารมณ์
ให้พิจารณาอิริยาบทใหญ่ทั้ง 4 คือ รูป นั่ง-นอน-ยืน-เดิน ให้รู้ทุกข์
และเห็นไตรลักษณ์ รูป-นาม เกิด ดับ
ส่วนภาค 2 เป็นภาคปฏิบัติ ๗ วัน
ก่อนเข้าปฏิบัติ วิปัสสนจารย์จะให้สมาทาน “อาชีวัฏฐะมะกะศีล” กล่าวคือ 1. ห้ามฆ่าสัตว์
2. ห้ามลักทรัพย์ 3 . ห้ามล่วงประเวณี 4. ห้ามพูดเท็จ 5. ห้ามพูดคำหยาบ 6.ห้ามพูดส่อเสียด
7. ห้ามพูดเพ้อเจ้อ และ 8. ห้ามมิจฉาอาชีวะ
แล้วให้อยู่ปฏิบัติดูรูปนามในอิริยาบถใหญ่ทั้ง 4
แต่ให้อยู่ภายในห้องพัก หรือเดินจงกรมรอบๆ เรือนกรรมฐานเท่านั้น
ไม่ต้องกังวลเรื่องข้าวปลาอาหาร เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยส่งปิ่นโตอาหารคาวหวาน วันละ 3 มื้อ
และน้ำร้อน น้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำปานะ เช้าและบ่าย ทุกวันๆ ละ 2 ครั้ง
มีข้อห้ามนำอาหารไปเลี้ยงสัตว์รอบบริเวณเรือนกรรมฐาน เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติถูกรบกวนจากสัตว์
ทั้งเล็กและใหญ่ ตลอดจนมดและแมลง รับประทานอาหารแล้วไม่ต้องล้างปิ่นโต จะมีเจ้าหน้าที่มาเก็บหลังอาหารทุกมื้อ
หลักปฏิบัติ 15 ข้อ ของท่านอาจารย์าแนบ มหานีรานนท์
1 ก่อนปฏิบัติต้องทำความเข้าใจหรือศึกษาภูมิของวิปัสสนา ได้แก่รูป-นาม ให้เข้าใจถ่องแท้แน่นอนเสียก่อน
2. เริ่มลงมือกำหนดที่ รูป-นาม ปัจจุบันเสมอ
3. ขณะกำหนดหรือดู “รูปนาม” ต้องระลึกเสมอว่า ขณะนั้นกำหนดรูปอะไร หรือนามอะไร
4. ขณะกำหนดอย่าให้มีความรู้สึกต้องการ หรือความรู้สึกว่าจะกำหนดเพื่อให้เกิดอะไรขึ้น
5. ไม่ให้กำหนดรูปและนามทีเดียวไปพร้อมกัน
ไม่ควรใช้อิริยาบถย่อย เช่น เคลื่อนไหว เหยียดคู้ ก้ม-เงยเหลียวซ้าย-ขวา และไม่ให้เปลี่ยน
อิริยาบถใหญ่ถ้าไม่จำเป็น (สำรวมอินทรีย์)
ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนอิริยาบถใหญ่หรือย่อย ต้องรู้เหตุก่อนว่าเปลี่ยนไปเพื่ออะไร เช่น
เพื่อแก้ทุกข์ หรือมีเหตุจำเป็นจริงๆ
อย่าทำอิริยาบถให้ผิดปกติ (เคยนั่ง นอน ยืน เดิน อย่างไรก็ให้ทำอย่างนั้น)
ไม่ให้ระวังหรือประคองอิริยาบถจนผิดปกติ
ขณะเข้ากรรมฐานห้ามทำสิ่งที่ไม่จำเป็น และไม่จำเป็นไม่ควรพูด
ก่อนจะทำสิ่งใดให้รู้เหตุจำเป็นก่อน ทั้งก่อนทำ และเลิกทำ
อย่าให้รู้สึกว่าที่ทำเพราะจะทำกรรมฐาน
อย่าทำความรู้สึกว่าจะกำหนดเพื่อให้จิตสงบ หรือเพื่อให้ได้สมาธิ
ขณะทำกรรมฐานให้ทำใจเหมือนดูละคร แต่อย่าไปหัดละคร
ผู้ทำวิปัสสนาอย่าตั้งใจ อย่าให้เกิดความพอใจ ให้สังเกตดู ความเกิด-ดับ ก็พอ
28 พฤศจิกายน 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไปมาแล้ว สุดยอดมาก ง่าย ได้ผลทันตาเกินคาด วันแรกๆอดทนหน่อย เพราะจะรู้สึกเคว้งคว้าง วันที่สามได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบพระคุณจริงๆ
ตอบลบ